เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 5 มกราคม 2564 ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป [เป็นการดำเนินการ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 88 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการค่าจ้างประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือโดยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา] ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. เดิม รง. โดยคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 20 ได้ออกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 4 มีนาคม 2563 โดยมีการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือไปแล้ว รวม 83 สาขาอาชีพ เพื่อให้ลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในแต่ละสาขาอาชีพและแต่ละระดับได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม เป็นธรรม สอดคล้องกับทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และการจ้างงานในตลาดแรงงาน ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับในปัจจุบัน (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 เรื่อง การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ)
2. คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ได้พิจารณา (ร่าง) อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มสาขาอาชีพ (กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหการ กลุ่มสาขาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และกลุ่มสาขาอาชีพช่างเครื่องกล) 14 สาขาอาชีพ ตามที่คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือทั้ง 3 คณะ เสนอ (คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหการ กลุ่มสาขาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และกลุ่มสาขาอาชีพช่างเครื่องกล) โดยมีมติ ดังนี้
2.1 เห็นชอบต่ออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มสาขาอาชีพ 13 สาขาอาชีพ ตาม (ร่าง) อัตราค่าจ้างฯ ที่คณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 3 คณะ เสนอ โดยสาขาอาชีพพนักงานขับรถบรรทุกให้ชะลอการออกประกาศฯ และให้มีการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพพนักงานขับรถบรรทุก ให้ครอบคลุมรถบรรทุกทุกประเภทก่อน แล้วจึงนำมาพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (เนื่องจากมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพพนักงานขับรถบรรทุก ที่เสนอมามีเพียงรถบรรทุก 4 ล้อ 6 ล้อ และ 10 ล้อ ซึ่งยัง ไม่ครอบคลุมรถบรรทุกทุกประเภท) ดังนี้
หน่วย : บาท/วัน
กลุ่มสาขาอาชีพ/สาขาอาชีพ |
ระดับ 1 |
ช่วงห่าง |
ระดับ 2 |
ช่วงห่าง |
ระดับ 3 |
กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหการ |
|||||
1.
ช่างกลึง |
460 |
80 |
540 |
90 |
630 |
2.
ช่างควบคุมเครื่องกลึง CNC
|
470 |
85 |
555 |
120 |
675 |
3.
ช่างควบคุมเครื่อง Wire
Cut |
480 |
- |
- |
- |
- |
4.
ช่างเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ |
465 |
85 |
550 |
80 |
630 |
กลุ่มสาขาอาชีพช่างไฟฟ้า
อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ |
|||||
1.
ช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร |
450 |
- |
- |
- |
- |
2.
ช่างโทรคมนาคม (ไมโครเวฟและการสื่อสารดาวเทียม) |
450 |
- |
- |
- |
- |
3. ช่างควบคุมด้วยระบบโปรแกรมเมเบิ้ลลอจิกคอนโทรลเลอร์ (Programmable
Logic Controller: PLC) |
450 |
90 |
540 |
- |
- |
4.
ช่างไฟฟ้าสำหรับอุตสาหกรรมการจัดประชุม การเดินทางเพื่อเป็นรางวัล
และการแสดงสินค้า (MICE
: Meetings Incentives Conventions Exhibitions) |
440 |
- |
- |
- |
- |
5. ช่างติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ |
450 |
- |
- |
- |
- |
กลุ่มสาขาอาชีพช่างเครื่องกล |
|||||
1.
พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถยกไฟฟ้า |
430 |
- |
- |
- |
- |
2. พนักงานควบคุมเครื่องจักรรถยกใช้เครื่องยนต์ |
430 |
- |
- |
- |
- |
3. ช่างตั้งศูนย์และถ่วงล้อรถยนต์ |
415 |
- |
- |
- |
- |
4. ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ |
415 |
- |
- |
- |
- |
2. เห็นชอบวันที่ประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือมีผลใช้บังคับคือ เก้าสิบวันหลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป