Sunday, February 27, 2011

การเลิกจ้างที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ตอน: 3) ดูพวกเขากระทำกับแรงงาน เมื่อธุรกิจ dotcom ล่มสลาย



เป็นเรื่องน่าขันเหมือนกัน ที่อุตสาหกรรมอินเตอร์เน็ต ซึ่งเคยเป็นอุตสาหกรรมที่บำรุงบำเรอพนักงาน เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างจากทุนและปัญญามนุษย์ อุตสาหกรรมที่สร้างคำขวัญว่า "บริษัทที่ออกไปเที่ยวนอกบ้านทุกคืน" แต่ในช่วงทุนนิยมดอทคอมระเบิดครั้งแรก อุตสาหกรรมนี้ได้ทอดทิ้งพนักงานของเขาอย่างไม่ใยดี



กรณีศึกษา: ดูพวกเขากระทำกับแรงงาน เมื่อธุรกิจ dotcom ล่มสลาย
วิทยากร บุญเรือง
เมื่อขึ้นต้นทศวรรษใหม่ในปี ค.. 2000 บรรดา นักเศรษฐศาสตร์ นักการเมือง และกลุ่มบุคคลรุ่นใหม่ที่ "โปรไอที" ทั้งหลาย ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเศรษฐกิจแบบใหม่มาถึงแล้ว ผู้ที่ทำธุรกิจ "dotcom" หรือที่เรียกเทวดาหนุ่มสาวเหล่านั้นว่า "dotcomers" ครองโลก แต่พอถึงปลายปี เหล่า dotcomers ทั้งหลายก็ต้องสัมผัสกับวลีใหม่ "ตกงาน" ดังที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจ อีริค เฮลเวก (Eric Hellweg) กล่าวไว้ในหนังสือของเขาเมื่อปี ค.. 2001 ว่า


"เป็น เรื่องน่าขันเหมือนกัน ที่อุตสาหกรรมอินเตอร์เน็ต ซึ่งเคยเป็นอุตสาหกรรมที่บำรุงบำเรอพนักงาน เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างจากทุนและปัญญามนุษย์ อุตสาหกรรมที่สร้างคำขวัญว่า "บริษัทที่ออกไปเที่ยวนอกบ้านทุกคืน" ตอนนี้อุตสาหกรรมนี้ได้ทอดทิ้งพนักงานของเขาอย่างไม่ใยดี"

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นเรื่องหน้าเศร้าที่เกิดขึ้นในเดือนมกราคม ค.. 2001 ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์ปกติของอุตสาหกรรม dotcom ในขณะนั้น และก็เป็นเครื่องเตือนใจว่าทุกคนว่ามีสิทธิตกงานได้เสมอ

ที่ Listen.com ปรากฏว่ามีการขยายงานอย่างไม่หยุดยั้ง แต่ยิ่งขยายก็ยิ่งมีคนตกงาน อดีตพนักงานของ Listen.com กล่าวว่า "บริษัทจ้างคนเข้ามาทำงานในแผนกกองบรรณาธิการไม่หยุดเลยจนถึงเดือนพฤศจิกายน นอกจากนั้น ผู้จัดการยังไม่ยอมให้ใครหยุดพักช่วงวันหยุดคริสต์มาสด้วยซ้ำ แต่พอขึ้นปีใหม่ พนักงานของ Listen.com ก็ได้รับข้อความผ่านว๊อยซ์เมลล์ ว่าให้ไปที่บริษัทในเวลาสิบโมงตรง เมื่อถึงสิบโมงก็ได้รับอีเมลล์ให้ไปที่ห้องประชุม ในห้องนี้ก็มีข้อความประกาศอย่างไม่อ้อมค้อมว่า "บริษัทได้ปรับโครงสร้างใหม่แล้ว คุณถูกให้ออก คุณมีเวลา 45 นาที ที่จะออกไปจากอาคารนี้ เราได้เตรียมกล่องไว้สำหรับให้คุณเอาใส่ของกลับบ้านไว้ด้วย" พนักงานที่กลับมาจากการหยุดพักหลังวันนั้น พอมาถึงสำนักงานก็พบว่าเข้าไม่ได้เสียแล้ว - บัตรกุญแจใช้ไม่ได้แล้ว แต่พอเข้าไปได้ก็ปรากฏว่าใช้อีเมลล์ของบริษัทไม่ได้อีก"

บริษัท ComedyWorld.com มี สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก ประกาศปลดพนักงานเกือบครึ่งบริษัทในห้องประชุมที่เริ่มเวลาสิบโมง และใช้เวลาประชุมประมาณ 45 นาที บริษัทให้เวลาพนักงานเก็บข้าวของสัมภาระของตนเองครึ่งชั่วโมง และให้ออกจากอาคารก่อนเวลาสิบเอ็ดโมงสิบห้านาที ซึ่งเป็นเวลาที่จะปิดอาคาร อดีตพนักงานคนหนึ่งออกจากอาคารโดยใช้ลิฟท์ พนักงานรักษาความปลอดภัยขอเปิดกระเป๋าเพื่อตรวจสอบของในกระเป๋า และถามว่านำโน๊ตบุ๊คกับหูฟังของบริษัทออกมาด้วยหรือไม่

ตัวอย่างสองกรณีนี้เป็นสถานการณ์ที่เรียกกันว่าแพ้กันทุกฝ่าย (lose-lose) บริษัทปฏิบัติต่อพนักงานเหมือนสิ่งของที่ใช้แล้วทิ้ง นายจ้างเองก็จะเสียชื่อเสียงเพราะบริษัทไม่มีความน่าเชื่อถือในด้านการ ปฏิบัติกับแรงงานอย่างเป็นธรรม แต่โชคดีในอุตสาหกรรม dotcom ยังพอมีตัวอย่างที่พอถูไถไปได้สำหรับการเลิกจ้างที่เป็นธรรมระดับหนึ่ง

ในเดือนมกราคม ค.. 2001 บริษัท Amazon (AMZN) ประกาศว่าจะปิดศูนย์บริการลูกค้าในเมืองซีแอตเทิล และแม็คโดนัฟ และจะปลดพักงานกว่า 1,300 คน อย่างไรก็ดี บริษัท Amazon ปฏิบัติกับพนักงานต่างกับสองบริษัทที่กล่าวไปอย่างสิ้นเชิง โดยบริษัทได้จัดตั้งกองทุนในรูปหุ้นมูลค่า 2.5 ล้านดอลลาร์ กำหนดจ่ายให้กับพนักงานที่ถูกปลดในปี ค.. 2003 เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นและบริษัทประกาศหาคนมาทำงาน คาดว่าจะมีพนักงานเก่าหวนกลับมาทำงานอีก


ที่มา
:Coporates Success Through People: Making International Labours Standards Work For You (Nikolai Rogovsky And Emily Sims, ILO, 2002)
How the ax falls (www.salon.com, 01-25-2001)

เรื่องที่ได้รับความนิยม