Tuesday, December 7, 2010

การไม่เลือกปฏิบัติต่อแรงงาน (ตอน: 3) การปฏิวัติพนักงานผมสีดอกเลาที่บริษัท B&Q

บริษัท B&Q เป็นบริษัทค้าปลีกชั้นนำของอังกฤษประเภท Do-It-Yourself (DIY) และศูนย์กลางอุปกรณ์ตกแต่งบ้านและสวน จำหน่ายสินค้าประมาณ 45,000 ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้บริษัทมีปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือและจำเป็นต้องรักษาพนักงานที่มีประสบการณ์การทำงานไว้ เหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้บริษัทเริ่ม การปฏิวัติพนักงานผมสีดอกเลา ในปี 1989
นโยบายของบริษัท B&Q ที่จ้างพนักงานจากหลากหลายภูมิหลังนั้นมีมานานแล้วเนื่องจากสภาพธุรกิจ เป็นใจ การมีพนักงานหลากหลายเป็นของคู่กับกำไรของบริษัทจนเป็นนโยบายของบริษัทว่า เน้น ความสำคัญด้านกลยุทธ์จ้างพนักงานหลากหลายภูมิหลัง มุ่งเน้นความประสงค์ของลูกค้า โดยนโยบายของบริษัทแต่ก่อนก็มิได้เป็นเช่นนี้ซึ่งไม่ใช่แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด บริษัทมีปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือและจำเป็นต้องรักษาพนักงานที่มีประสบการณ์การทำงานไว้ เหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้บริษัทเริ่ม การปฏิวัติพนักงานผมสีดอกเลา ในปี 1989
บริษัท B&Q เชื่อว่าสถานประกอบการในประเทศอังกฤษเลือกปฏิบัติกีดกันพนักงานที่มีอายุเกือบทุกแห่ง สถาบันเพื่อศึกษาการมีงานทำ (Institute for Employment Studies หรือ IES) พบว่านายจ้างในอังกฤษจำนวน 25-34% ตั้งเกณฑ์พนักงานต้องมีอายุไม่เกินเท่านั้นเท่านี้อย่างชัดเจน รัฐบาลอังกฤษประเมินว่ามีนายจ้างอย่างน้อย 40% ใช้อายุเป็นเกณฑ์เลือกปฏิบัติ ในประเทศยุโรป เช่น ฝรั่งเศส สเปน มีกฎหมายเกี่ยวกับอายุ (เช่น ห้ามจำกัดอายุในโฆษณาประกาศตำแหน่งว่าง) ซึ่งในอังกฤษยังไม่มี
บริษัท B&Q และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) เห็นว่าการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์นั้นมองข้ามการ เปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมและประชากรของประเทศ ในอังกฤษประชากรที่มีอายุนั้นมีจำนวนมากขึ้นทุกปี ขณะนี้กำลังแรงงานในสถานประกอบการอังกฤษที่มีอายุมากกว่า 45 ปีมีมากกว่า 40% นอกจากนั้นในช่วง 15 ปีที่ผ่านมานี้จำนวนกำลังแรงงานอายุระหว่าง 20-24 ปีลดลงมาก
ใน การปรับวัฒนธรรมบริษัทให้สอดคล้องกับสภาพประชากรและสร้างขวัญกำลังใจแก่ พนักงานที่มีประสบการณ์การขายอุปกรณ์ตกแต่งบ้านและสวนของบริษัท  บริษัท B&Q จึงเริ่ม การปฏิวัติผมสีดอกเลา หรือ Grey Revolution โดยออกมาตรการหลายอย่างเพื่อดึงพนักงานอายุมากมาทำงานที่บริษัท เช่น เปิดสาขาใหม่ที่พนักงานทำงานมีอายุสูงกว่า 50 ปี เป็นต้น
ผู้บริหารของบริษัท B&Q ชื่อ Lorian Coutts ชี้แจงว่าที่ต้องทำเช่นนั้นเพราะขาดแคลนแรงงานมากในขณะนั้บริษัทดำเนินนโยบายรับพนักงานอายุสูงกว่า 50 ปี เพราะในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 ตลาดแรงงานเปลี่ยนไป แรงงานในกลุ่มอายุสูงกว่า 50 ปีเป็นกลุ่มแรงงานที่ไม่ถูกใช้งานเท่าที่ควร
นอก จาก นั้น ยังเชื่อว่าผู้ที่มีอายุน่าจะมีความรู้และประสบการณ์ในธุรกิจตกแต่งบ้านและ สวนมากกว่าด้วยตนเอง บริษัทเชื่อว่าพนักงานผู้มีอายุน้อยน่าจะให้บริการแก่ลูกค้าได้ดีกว่า บริษัทจึงได้สำรวจความเห็นของลูกค้าและผลที่ออกมาก็เป็นไปตามที่คิด
มหาวิทยาลัยวอวิค (Warwick University) เปรียบเทียบระหว่างร้านที่จ้างพนักงานอายุมากกว่า 50 ปีกับร้านอื่น พบว่าร้านที่มีพนักงานอายุมากกว่ามีผลงานดีกว่าในเกือบทุกด้าน ในปี 1993 Mandy Jetter ศึกษาการปฏิวัติผมสีดอกเลา และตั้งข้อสังเกตว่าสาขา B&Q ที่มีพนักงานอายุสูงกว่า50 ปี ดีเด่นมากในเรื่องต่อไปนี้คือ จำนวนสินค้าในสต็อคสูญหายโดยไร้สาเหตุมีน้อยลงมาก พนักงานขาดงานน้อยมาก (และ) เป็นสาขาได้รับรางวัลขายดีที่สุดในบรรดาสาขา B&Q ทั้งหมด พบว่าสาขาที่มีพนักงานอายุมากเหล่านี้
            • กำไรสูงกว่าสาขาธรรมดา 18%
            • พนักงานลาออกน้อยกว่าสาขาธรรมดา 6 เท่า
            • พนักงานขาดงานโดยไม่มีเหตุผลอันควรน้อยกว่าสาขาธรรมดา 39%
            • พนักงานหลบเลี่ยงไม่ทำงานน้อยกว่าสาขาธรรมดา 59%
            • ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับบริการดีกว่า
            • ทีมพนักงานมีฐานฝีมือสูงกว่าสาขาธรรมดา
ทั้งนี้ในตอนต่อไปของรายงานชุดนี้ จะนำเสนอกรณีศึกษาของบริษัทที่มีโครงการส่งเสริมความก้าวหน้าให้แก่พนักงานสตรี
เรียบเรียงจาก:
Coporates Success Through People: Making International Labours Standards Work For You (Nikolai Rogovsky And Emily Sims, ILO, 2002)

เรื่องที่ได้รับความนิยม